วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ค่านิยมทางเพศ




ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง
ในประเทศไทย มีความเป็นไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องเพศ  ซึ่งม    มีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ
        1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย ได้แก่
          1.1        การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน                
        โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย
        1.2        การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
        1.3        การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง
        1.4        การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด
        ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น   
       การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม        
        อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม
        1.        ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย
              1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
              2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค
                 3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจ
             4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว
        วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้น               
        ค่านิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน วัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น               ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำส่อนทางเพศ เป็นต้น      หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตนเองดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง 
        หรือผู้ใหญ่  จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้
          1.มีความรักเป็นพื้นฐาน  เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย   
          จึงมีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา
          2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น
          2.1 อายุ  ควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ชายควรมีอายุ 25-30 ปี ฝ่ายหญิง ควรมีอายุ 20-25 ปี 
          มีความพร้อมทางร่างกาย
          2.2 สุขภาพร่างกายารแต่งงานนั้นนอกจากมีความพร้อมทางร่างกายที่จะใหกำเนิดลูกได้แล้วควรจะต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย         เช่น โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาพ
        และถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน
        2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ        
        มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวได้ดี
        2.4ระดับสติปัญญา คู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
        2.5คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน
        2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรม
       ของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
        2.7        วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย        2.8        ฐานะทางเศรษฐกิจ  ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว